หน้าเว็บ

ทวย

บางครั้งเรียกว่า คันทวย เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมไทยที่ทำหน้าที่ค้ำยันระหว่างผนังอาคาร (หรือเสา) และชายคาในแนวเฉียง โดยการแกะสลักไม้ ปั้นปูน หรือหล่อโลหะ นิยมทำเป็นลายโปร่ง หรือฉลุลายเป็นรูปนาค ดอกไม้ใบไม้ หรือลวดลายอื่นๆ ตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่น


คันทวย พระระเบียง วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
ที่มา: https://th.wikipedia.org/

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. คันทวย. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/คันทวย
อ่านเพิ่มเติม »

ถะ

PW Choun | 22:07 | | |
เจดีย์ในสถาปัตยกรรมจีน แกะสลักจากหิน มีลักษณะเป็นอาคารซ้อนชั้นขึ้นไป เป็นส่วนหนึ่งของอับเฉาเรือ วัสดุใช้ถ่วงเรือให้มีน้ำหนักเพื่อให้สามารถฝ่าคลื่นลมและพายุในท้องทะเลได้


ถะ หรือ เจดีย์หินแบบจีน ตั้งเรียงรายโดยรอบพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.



อ่านเพิ่มเติม »

ตริภังค์

ท่ายืนเอียงกายสามส่วน ได้แก่ เอียงจากส่วนเท้าถึงสะโพก เอียงจากสะโพกถึงไหล่ และเอียงจากส่วนไหล่ถึงศีรษะ เป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 9-11


พระพุทธรูปประทับยืนปางประทานอภัย พิพิธภัณฑ์เมืองสารนาถ ศิลปะอินเดียแบบคุปตะ
(จากหนังสือประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียง โดย ศ. หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่หก พ.ศ. 2553)


อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

อ่านเพิ่มเติม »

ดินเชื้อ (grog)

เป็นส่วนที่ใช้ผสมกับดินเหนียวในการปั้นภาชนะดินเผา ทำจากดินเผาไฟหรือเศษภาชนะดินเผาที่แตกหักแล้วนำมาบดผสมกับวัสดุอื่นๆ เช่น แกลบ ฟางข้าว ทราย เป็นต้น จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อน ตากให้แห้ง เผาไฟให้สุก แล้วนำมาบดให้ละเอียด ก่อนจะนำไปผสมกับดินเหนียวขึ้นรูปภาชนะ เวลาเผาไฟจะช่วยให้ดินไม่หดตัวมากเกินไปจนบิดเบี้ยวผิดรูปร่าง


ดินผสมแกลบ ปั้นเป็นก้อนตากให้แห้งก่อนนำไปเผาไฟ แล้วบดผสมดินเหนียวสำหรับปั้นภาชนะดินเผา

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

อ่านเพิ่มเติม »

ฐานเขียง

ฐานที่อยู่ชั้นล่างสุดรองรับฐานช้นต่างๆ ของเจดีย์ มักมีลักษณะเรียบง่าย ไม่มีลวดลายประดับตกแต่ง บางทีเรียก เขียง หรือ ชั้นเขียง ฐานหน้ากระดาน ชั้นหน้ากระดาน หากมีฐานเขียงซ้อนกันมากกว่า 1 ชั้น เรียกชุดฐานเขียง


ชุดฐานเขียงสามชั้นด้านล่างสุด รองรับฐานอื่นๆ ของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ศิลปะสุโขทัย

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

อ่านเพิ่มเติม »

ซุ้มเรือนแก้ว

ซู้มที่เป็นกรอบรอบพระพุทธรูป เป็นการออกแบบเชิงสัญลักษณ์แทนเรือนที่ประทับของพระพุทธองค์ที่พระอินทร์เนรมิตถวายให้ในสัปดาห์ที่ 4 หลังการตรัสรู้


พระพุทธชินราช วัดพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
ภาพโดย Poowiang Choun

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

อ่านเพิ่มเติม »

ฉนวน

หมายถึงทางเดินที่มีเครื่องกำบังอยู่สองข้าง ได้แก่ กำแพง ผนัง หรือแผงบังตา เป็นทางสำหรับเชื่อมต่อระหว่างอาคาร เป็นทางเดินสำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายฝ่่ายใน



ฉนวนทางเดินที่วัดมเหยงค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อ้างอิง:

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.
อ่านเพิ่มเติม »