หน้าเว็บ

ทวย

บางครั้งเรียกว่า คันทวย เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมไทยที่ทำหน้าที่ค้ำยันระหว่างผนังอาคาร (หรือเสา) และชายคาในแนวเฉียง โดยการแกะสลักไม้ ปั้นปูน หรือหล่อโลหะ นิยมทำเป็นลายโปร่ง หรือฉลุลายเป็นรูปนาค ดอกไม้ใบไม้ หรือลวดลายอื่นๆ ตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่น


คันทวย พระระเบียง วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
ที่มา: https://th.wikipedia.org/

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. คันทวย. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/คันทวย
อ่านเพิ่มเติม »

ถะ

PW Choun | 22:07 | | |
เจดีย์ในสถาปัตยกรรมจีน แกะสลักจากหิน มีลักษณะเป็นอาคารซ้อนชั้นขึ้นไป เป็นส่วนหนึ่งของอับเฉาเรือ วัสดุใช้ถ่วงเรือให้มีน้ำหนักเพื่อให้สามารถฝ่าคลื่นลมและพายุในท้องทะเลได้


ถะ หรือ เจดีย์หินแบบจีน ตั้งเรียงรายโดยรอบพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.



อ่านเพิ่มเติม »

ตริภังค์

ท่ายืนเอียงกายสามส่วน ได้แก่ เอียงจากส่วนเท้าถึงสะโพก เอียงจากสะโพกถึงไหล่ และเอียงจากส่วนไหล่ถึงศีรษะ เป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 9-11


พระพุทธรูปประทับยืนปางประทานอภัย พิพิธภัณฑ์เมืองสารนาถ ศิลปะอินเดียแบบคุปตะ
(จากหนังสือประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียง โดย ศ. หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่หก พ.ศ. 2553)


อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

อ่านเพิ่มเติม »

ดินเชื้อ (grog)

เป็นส่วนที่ใช้ผสมกับดินเหนียวในการปั้นภาชนะดินเผา ทำจากดินเผาไฟหรือเศษภาชนะดินเผาที่แตกหักแล้วนำมาบดผสมกับวัสดุอื่นๆ เช่น แกลบ ฟางข้าว ทราย เป็นต้น จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อน ตากให้แห้ง เผาไฟให้สุก แล้วนำมาบดให้ละเอียด ก่อนจะนำไปผสมกับดินเหนียวขึ้นรูปภาชนะ เวลาเผาไฟจะช่วยให้ดินไม่หดตัวมากเกินไปจนบิดเบี้ยวผิดรูปร่าง


ดินผสมแกลบ ปั้นเป็นก้อนตากให้แห้งก่อนนำไปเผาไฟ แล้วบดผสมดินเหนียวสำหรับปั้นภาชนะดินเผา

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

อ่านเพิ่มเติม »

ฐานเขียง

ฐานที่อยู่ชั้นล่างสุดรองรับฐานช้นต่างๆ ของเจดีย์ มักมีลักษณะเรียบง่าย ไม่มีลวดลายประดับตกแต่ง บางทีเรียก เขียง หรือ ชั้นเขียง ฐานหน้ากระดาน ชั้นหน้ากระดาน หากมีฐานเขียงซ้อนกันมากกว่า 1 ชั้น เรียกชุดฐานเขียง


ชุดฐานเขียงสามชั้นด้านล่างสุด รองรับฐานอื่นๆ ของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ศิลปะสุโขทัย

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

อ่านเพิ่มเติม »

ซุ้มเรือนแก้ว

ซู้มที่เป็นกรอบรอบพระพุทธรูป เป็นการออกแบบเชิงสัญลักษณ์แทนเรือนที่ประทับของพระพุทธองค์ที่พระอินทร์เนรมิตถวายให้ในสัปดาห์ที่ 4 หลังการตรัสรู้


พระพุทธชินราช วัดพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
ภาพโดย Poowiang Choun

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

อ่านเพิ่มเติม »

ฉนวน

หมายถึงทางเดินที่มีเครื่องกำบังอยู่สองข้าง ได้แก่ กำแพง ผนัง หรือแผงบังตา เป็นทางสำหรับเชื่อมต่อระหว่างอาคาร เป็นทางเดินสำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายฝ่่ายใน



ฉนวนทางเดินที่วัดมเหยงค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อ้างอิง:

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.
อ่านเพิ่มเติม »

จระนำ

บริเวณที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือรูปเคารพต่างๆ มักทำเป็นช่องตรงผนังของเรือนธาตุ ยื่นออกมายื่นออกมาแต่ไม่มาก ประกอบด้วยตัวเรือน เสา และซุ้ม แต่หากยื่นออกมาจากผนังมากมักเรียกว่า มุขจระนำ


ซุ้มจระนำของเจดีย์กู่กุด หรือเจดีย์มหาพล วัดจามเทวี (กู่กุด) จังหวัดลำพูน

อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

อ่านเพิ่มเติม »

กี๋

กี๋ เป็นวัสดุที่ใช้รองภาชนะในขณะทำการเผา เพื่อมิให้ภาชนะติดกันหรือเกิดความสกปรก กี๋ทำมาจากดินเผา และมีหลายรูปร่าง ได้แก่ กี๋เม็ด กี๋ท่อ กี๋จาน กี๋แท่ง เป็นต้น



อ้างอิง

กรมศิลปากร, สำนักโบราณคดี. 2550. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.


อ่านเพิ่มเติม »

อชาตศัตรู

พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ (อยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย) ทรงเป็นพระโอรสในพระเจ้าพิมพิสารและพระนางเวเทหิ ครั้งพระมารดาทรงพระครรภ์ ปรารถนาเสวยเลือดพระสวามี พระเจ้าพิมพิสารทรงรองพระโลหิตของพระองค์ให้เสวย ซึ่งโหราจารย์ได้ทำนายไว้ว่าพระโอรสจะทำปิตุฆาต

ครั้นพระโอรสเติบใหญ่ได้รับการเสี้ยมสอนจากพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระบิดาของตนเองเพื่อชิงบัลลังก์ แม้แผนการล้มเหลว พระเจ้าพิมพิสารตัดสินพระทัยสละราชย์สมบัติให้กับพระโอรส ครั้นได้ขึ้นครองราชย์แล้วแต่พระเจ้าอชาตศัตรู ก็ยังถูกพระเทวทัตยุยงต่อให้สังหารบิดาตนเองอีก พระเจ้าอชาตศัตรูจึงจับพระเจ้าพิมพิสารไปจองจำ และทรมานด้วยวิธีการต่างๆ จนสิ้นพระชนม์

ภายหลังพระองค์สำนึกได้ถึงบาปหนักที่ทำกับพระบิดา จึงได้เดินตามรอยพระพุทธศาสนา และเป็นองค์เอกอัครนูปถัมภกในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 แต่กรรมจากปิตุฆาตทำให้ไม่สามารถบวชเป็นภิกษุ หรือสำเร็จธรรมขั้นสูงได้ สุดท้ายพระเจ้าอชาตศัตรูต้องสิ้นพระชนม์ลงจากการทำปิตุฆาตของอุทัยภัทรราชกุมาร ผู้เป็นพระโอรสของพระองค์เอง


ที่มา: http://www.phuketdata.net/

อ้างอิง 

วิกิพีเดีย, สารนุกรมเสรี. พระเจ้าอชาตศัตรู. ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าอชาตศัตรู

อ่านเพิ่มเติม »

คเณศ (Ganesh)

พระคเณศ (Ganesh) หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ (Ganapati) หนึ่งในเทพองค์สำคัญในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง และทรงเป็นเทพเจ้าแห่งอุปสรรคทั้งปวง

พระคเณศทรงเป็นโอรสของพระศิวะและพระนามปารวตี (พระอุมา) พระองค์ทรงได้รับการบูชาก่อนเทพองค์อื่นๆ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับนับถือว่าเป็นเทพแห่งศิลปวิยาการด้วย

ลักษณะเด่นของพระองค์ คือ มีเศียรเป็นช้าง พระวรกายอ้วน มีพุงพลุ้ย มีงาข้างเดียว อีกข้างหักและถือไว้ในพระหัตถ์ข้างหนึ่ง อีกข้างถือขนมโมทกะ มีหนูเป็นพาหนะ


ที่มา: http://forums.smitegame.com/

อ้างอิง

กรมศิลปากร, สำนักโบราณคดี. 2550. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. พระพิฆเนศ. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พระพิฆเนศ





อ่านเพิ่มเติม »

เงินราง (Silver bar)

PW Choun | 18:52 | | |
เป็นเงินตราโบราณทำจากโลหะเงินเกือบบริสุทธิ์ โดยมูลค่าของเงินคิดตามน้ำหนัก นิยมใช้ในอาณาจักรล้านช้างโบราณและอาณาจักรเขมร ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่ปลายทั้งสองด้านโค้งงอออกเล็กน้อยเหมือนรูปเรือ "ฮาง" สำเนียงไทยออกเสียงว่า "ราง" ด้านบนมีร่องตรงกลาง มักมีตัวอักษรจีนตอกประทับไว้บอกรัชกาลที่ผลิต


เงินราง หรือเงินฮาง
ที่มา: http://kanchanapisek.or.th/

อ้างอิง

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. เงินตราที่ใช้ในอาณาจักรโบราณในภาคต่างๆ ของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=29&chap=6&page=t29-6-infodetail03.html


อ่านเพิ่มเติม »

คชลักษมี

เป็นรูปเคารพของพระลักษมีประทับนั่งตรงกลาง มีรูปช้างสองเชือกใช้งวงถือหม้อน้ำทำท่ารดน้ำอภิเษกให้พระนางลักษมี แสดงถึงสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และมักพบในศิลปะเขมร


ภาพคชลักษมีจากหน้าบันปราสาทบันทายสรี ประตูซุ้มชั้น 2 ตะวันออก ศิลปะขอมแบบบันทายสรี


อ้างอิง: 

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.
อ่านเพิ่มเติม »

ขวานหิน (stone axe)

เครื่องมือหรืออาวุธที่มีใช้มาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในการสับ ตัด ฟัน ผ่า วัตถุสิ่งของ ทำมาจากหินกรวดแม่น้ำ และหินประเภทต่างๆ ตามแหล่งวัตถุดิบที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิประเทศ นำมากะเทาะจนเกิดเป็นคม มีลักษณะที่กะเทาะหยาบๆ ในยุคแรกๆ แล้วพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย จนถึงการฝนขัดที่ผิวหินและคมจนเรียบสวยงาม อาจใช้ประกอบด้ามจับที่ทำด้วยไม้ หรือไม่มีด้ามที่เรียกว่าขวานกำปั้น


ภาพจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง


อ้างอิง:

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.
อ่านเพิ่มเติม »

ก่อนประวัติศาสตร์, ยุค (Prehistory)

PW Choun | 17:23 | |
เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตก่อนที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร การสิ้นสุดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในแต่ละท้องที่ไม่พร้อมกัน ในเอเชียตะวันตกรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลกราว 5,000 ปีมาแล้ว ในขณะที่บางพื้นที่ยังปรากฏกลุ่มชนที่มีพื้นฐานการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม ไม่รู้จักใช้ตัวอักษร มีแต่ภาษาพูด


ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

อ้างอิง: 
สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.
อ่านเพิ่มเติม »